วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การบ้านเฉยๆๆ

๑. งบประมาณด้านการศึกษาของประเทศไทย
  ประเทศไทยถูก World Economic Forum ประเมินว่า มีคุณภาพการศึกษา อยู่ในอันดับที่ ๘ ในกลุ่มประชาคมอาเซียน โดยประเทศที่ถูกประเมินว่า มีคุณภาพการศึกษา อันดับ ๑.คือ สิงคโปร์ ๒.มาเลเซีย ๓.บรูไน ๔. ฟิลิปปินส์ ๕. อินโดนีเซีย ๖. กัมพูชา ๗. เวียดนาม ๘.ไทย (ไม่มี ลาวและพม่า)
  จากการสืบค้นข้อมูล ชี้ว่า การจัดงบประมาณเพื่อการศึกษาของประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๑ รัฐบาลไทยได้จัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี ให้กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อบริหารการศึกษา มากเป็นอันดับ ๑ และจัดสรรงบประมาณเพิ่มขึ้นทุกปีมาโดยตลอด ดังต่อไปนี้

ปี ๒๕๕๑ จัดสรรงบประมาณ ให้ ฯ จำนวน ๓๐๑,๔๓๗,๔๐๐,๐๐๐ บาท คิดเป็น ร้อยละ๑๘.๒ ของงบประมาณประจำปี

ปี ๒๕๕๒ จัดสรรงบประมาณ ให้ฯจำนวน ๓๕๐,๕๕๖,๕๙๑,๒๐๐ บาท คิดเป็น ร้อยละ ๑๘ ของงบประมาณประจำปี

ปี ๒๕๕๓ จัดสรรงบประมาณ ให้ ฯ จำนวน ๓๔๖,๗๑๓,๐๙๓,๓๐๐ บาท คิดเป็น ร้อยละ ๒๐.๔ ของงบประมาณประจำปี

ปี ๒๕๕๔ จัดสรรงบประมาณ ให้ ฯ จำนวน ๓๙๒,๔๕๔,๐๓๗,๘๐๐ บาท คิดเป็น ร้อยละ ๑๘.๑ ของงบประมาณประจำปี

ปี ๒๕๕๕ จัดสรรงบประมาณ ให้ ฯ จำนวน ๔๒๐,๔๙๐,๐๓๒,๖๐๐ บาท คิดเป็น ร้อยละ ๑๗.๗ ของงบประมาณประจำปี

ปี ๒๕๕๖ จัดสรรงบประมาณ ให้ ฯ จำนวน ๔๖๐,๔๑๑,๖๔๘,๘๐๐ บาท คิดเป็น ร้อยละ ๑๙.๑๘ ของงบประมาณประจำปี (ข้อมูลจาก: งบประมาณแผ่นดิน)

สำหรับ ปีงบประมาณ ๒๕๕๗ รัฐบาลได้จัดสรร งบประมาณ ให้ กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน ๔๘๑,๓๓๗ ล้านบาท ซึ่งเป็นงบประมาณ เพื่อการศึกษา ที่สูงมากในกลุ่ม อาเซียน (ข้อมูลจาก: กนก วงษ์ตระหง่าน)

  จากข้อมูลงบประมาณ จะเห็นว่ารัฐบาลไทย ได้ทุ่มงบประมาณ เพื่อจัดการศึกษา มาจนถึงปัจจุบัน จำนวนมหาศาล แต่ ทำไมผลที่ปรากฏออกมา จึงตรงกันข้าม กลับปรากฏว่า คุณภาพการศึกษาของประเทศไทยต่ำสุด ในกลุ่มชาติอาเซียน ?

จากการวิเคราะห์ น่าจะมีสาเหตุจากปัจจัย ดังต่อไปนี้

๑. ความยากจนของประชาชน ในชนบทห่างไกล โดย ข้อมูล จาก หนังสือพิมพ์ ผู้จัดการ วันที่ ๑๒ พ.ย. ๒๕๕๔ รายงานว่า นายวัชรินทร์ จำปี รองเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) บอกว่า ผู้ที่ไม่ได้เข้าเรียน ส่วนใหญ่ เป็นคนไทยที่อยู่ในชนบท ห่างไกลและมีความยากจน นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มคนที่ไม่ได้ใช้ภาษาไทย ในชีวิตประจำวัน เช่น ชาวเขา หรือประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือไม่ก็เป็นผู้ที่ไม่ประสงค์จะเข้าเรียน เนื่องจากอายุมาก หรือต้องทำงานตลอดเวลา ทำให้ไม่มีเวลาไปเรียนหนังสือ

๒. ปัจจุบัน มีคนไทย ไม่รู้หนังสือ อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ประมาณ ๒ ล้าน คน (ข้อมูลจาก:Unesco ,September 10,2012)

๓. คนไทย ไม่มีนิสัยรักการอ่าน จากสถิติ ปรากฏว่า คนไทยอ่านหนังสือ ๘ บรรทัด จากค่าเฉลี่ย ของคนทั้งประเทศ ๖๕ ล้านคน แต่เพื่อนบ้าน อย่าง สิงคโปร์,เวียดนาม อ่านปีละ ๕เล่ม ประเทศ จีนอ่านปีละ ๖ เล่ม ยุโรป อ่านปีละ ๑๖ เล่ม ( ข้อมูลจาก:สำนักงานสถิติแห่งชาติ)

๔.คุณภาพของโรงเรียนและบุคลากร(ครู) ในเมืองและในชนบทที่ห่างไกล แตกต่างกันอย่างมาก โดย โรงเรียนในชนบทบางแห่ง ขาดแคลน ครู, อุปกรณ์การเรียน การสอน บางโรงเรียน ครูคนเดียวสอนนักเรียนหลายห้องในเวลาเดียวกัน อีกทั้งครูไม่มีเวลาสอนนักเรียนเต็มประสิทธิภาพเนื่องจากมีกิจกรรมอื่นให้รับผิดชอบ เป็นสาเหตุให้นักเรียนเสียโอกาสในการเรียน

๕. การบริหารการศึกษาของประเทศไทยยังขาดประสิทธิภาพ ผู้บริหารการศึกษาขาดวิสัยทัศน์ และไม่จริงจังกับการบริหารการศึกษาให้มีคุณภาพ แม้จะปรากฏว่า มีนักเรียนไทยบางส่วนเรียนดีได้รับรางวัลการแข่งขันด้านต่างๆ แต่ก็เป็นนักเรียนส่วนน้อยเมื่อเทียบส่วนกับนักเรียนทั้งประเทศและจะเป็นนักเรียนที่ฉลาดและเรียนเก่งโดยธรรมชาติอยู่แล้ว

๖.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นผู้วางนโยบายระดับสูงสุด ของประเทศไทย มีการเปลี่ยนตัวบ่อยมากและผู้มาดำรงตำแหน่งส่วนใหญ่ ไม่ใช่ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการศึกษา นโยบายการศึกษาจึงเปลี่ยนไป เปลี่ยนมา ไม่แน่นอน ทำให้การศึกษาของไทยไม่มีคุณภาพ

๗.ปัญหาการคอร์รัปชั่น จากผลการจัดอันดับดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชั่นตลอด ๑๖ ปี (พ.ศ.๒๕๓๘-๒๕๕๔) ของประเทศไทย ได้คะแนน เฉลี่ย ๓.๓๑ (ประเทศที่มีการจัดการคอร์รัปชั่นดีขึ้นแล้วต้องมีคะแนนขั้นต่ำไม่น้อยกว่า ๕ คะแนน) ซึ่งถือว่าสถานการณ์คอร์รัปชั่นของไทยยังมีแนวโน้ม อยู่ในระดับสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีการจัดอันดับดีกว่า อาทิ สิงคโปร์และฮ่องกง (ศิริวรรณ มนตระผดุง: วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑ มกราคม-มิถุนายน ๒๕๕๕) การคอร์รัปชั่นในประเทศไทยมีในทุกวงการไม่เว้นแม้แต่ในวงการศึกษา ดังปรากฏตัวอย่างการทุจริตในวงการศึกษา กรณีจัดซื้ออุปกรณ์การเรียน ในโรงเรียนอาชีวะศึกษา เมื่อไม่นานมานี้

การที่คุณภาพการศึกษาของประเทศไทยต่ำมากเช่นนี้ เป็นสัญญาณว่า คุณภาพของประชากรไทยต่ำเช่นกัน เพราะการให้การศึกษาเป็นตัวชี้วัดคุณภาพของประชากร เมื่อคุณภาพของประชากรต่ำการพัฒนาประเทศก็ไม่สามารถก้าวไปสู่เป้าหมายได้จึงเป็นเรื่องที่น่าวิตกอย่างยิ่งสำหรับประเทศไทย
ดังนั้น รัฐบาลต้องเร่งปรับปรุงการศึกษา ให้มีคุณภาพ โดยเร่งด่วน ก่อนทุกอย่างจะสายเกินแก้


 
   อ้างอิง






 
๒. ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อชีวิตประจำวัน
เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันอย่างมาก โดยเฉพาะตัวนี้ผมยังศึกษาอยู่ เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยในการหาข้อมูล เก็บข้อมูล การทำงาน รวบรวมข้อมูลทั้งในด้าน การบ้าน รายงาน โปรเจ็คต่างๆ ความรู้รอบตัว ข่าวสารบ้านเมือง หรือแม้แต่เวลาจะไปหาหนังสืออ่าน อุปกรณ์การศึกษา ก็ต้องผ่านการหา เก็บ และรวบรวมข้อมูลก่อนที่จะตัดสินใจ 

สรุปคือ เทคโนโลยีสารสนเทศ สร้างความสะดวกและรวดเร็วในการติดต่อสื่อสาร การเข้าถึงข้อมูลจำนวนมากได้อย่างรวดเร็วและได้ข้อมูลที่ทันสมัยตลอดเวลา ที่เห็นได้ชัดเจนในชีวิตประจำวันของเราคือโทรศัพท์มือถือและอินเตอร์เน็ต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น